ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ในปี พ.ศ. 2559
พระมหากษัตริย์แห่งจอร์แดน
ครองราชย์7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน (25 ปี 332 วัน)
ราชาภิเษก9 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์
พระรัชทายาทเจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
พระราชสมภพ30 มกราคม พ.ศ. 2505 (62 พรรษา)
กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน
พระอัครมเหสีรานยา อัลยัสซิน
พระราชบุตร
รายละเอียด
เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
เจ้าหญิงอีมาน
เจ้าหญิงซัลมา
เจ้าชายฮาเชม
พระนามเต็ม
อับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์ บิน เฏาะลาล บิน อับดุลลอฮ์
ราชวงศ์ฮัชไมต์
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์
พระราชมารดาเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 บิน อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: الملك عبد الله الثاني بن الحسين, ʿAbdullāh al-thani bin Al-Husayn, พระราชสมภพ 30 มกราคม พ.ศ. 2505) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งจอร์แดน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน และเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์

พระราชประวัติ

[แก้]

พระราชสมภพ

[แก้]
A young King Hussein and Princess Muna, holding their two young sons
เจ้าชายอับดุลลอฮ์ (พระชนมายุ 2 พรรษา) และเจ้าชายฟัยซะฮ์ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์และเจ้าหญิงมูนาในปีพ.ศ. 2507

สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2505 ณ กรุงอัมมาน เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ และเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระวรราชชายาชาวอังกฤษ (พระนามเดิม แอนทัวเนตต์ เอวริล การ์ดิเนอร์)[1]

พระนาม "อับดุลลอฮ์" นั้น นำมาจากพระปรมาภิไธยของ สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 พระปัยกา[2][3] ทรงเป็นลูกหลานรุ่นที่ 41 นบีมุฮัมมัด ในสายฟาฏิมะฮ์ ธิดานบีมุฮัมมัด กับสามีคืออะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ[1]

ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ พระองค์เป็นองค์รัชทายาทแห่งจอร์แดนภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2495[3][4]

เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมือง สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์มีพระราชดำริสถาปนารัชทายาทที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นแทน ดังนั้นพระองค์จึงทรงสถาปนาเจ้าชายฮะซัน พระอนุชาขึ้นเป็นพระรัชทายาทในปีพ.ศ. 2508[5][6]

การศึกษา

[แก้]

ทรงเริ่มการศึกษาในปีพ.ศ. 2509 ที่วิทยาลัยการศึกษาอิสลามในอัมมาน จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์เอ็ดมันด์ในสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอีเกิลบรุกและเดียร์ฟิลด์ อะคาเดมี่ในสหรัฐอเมริกา[1]

เสด็จขึ้นครองราชย์

[แก้]

เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 อภิเษกสมรสกับรานยา อัลยัสซิน ชาวปาเลสไตน์ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์

พระราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลHis Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1

พระราชอิสริยยศ

[แก้]

ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (30 มกราคม พ.ศ. 2505 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2508) ฃ

ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์แห่งจอร์แดน (1 มีนาคม พ.ศ. 2508 – 24 มกราคม พ.ศ. 2542)

ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน ( 24 มกราคม พ.ศ. 2542 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)

ฮิสมาเจสตี สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)


ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน
พระมหากษัตริย์จอร์แดน
(ค.ศ. 1999 — ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "His Majesty King Abdullah II ibn Al-Hussein". kingabdullah.jo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017.
  2. Jawad Anani (23 พฤศจิกายน 2015). "Enacting laws". The Jordan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2018.
  3. 3.0 3.1 "Jordan profile – Leaders". BBC. 3 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016.
  4. "Jordan's king names son, 15, as crown prince". Reuters. 3 กรกฎาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2018.
  5. Jehl, Douglas (1999). "King Hussein Selects Eldest Son, Abdullah, as Successor". The New York Times.
  6. Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abdullah II". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica Inc. pp. 23. ISBN 978-1-59339-837-8.